เผ่าเร่ร่อนในทะเล หรือ ซามา บาจาว
หรือผู้คนเรียกเขาว่าชาวเล พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะหลายคนใช้ชีวิตแบบกึ่ง เร่ร่อน เดินทางจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งด้วย เรือ และตั้งถิ่นฐานบนบกในช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น
คนมักเรียกพวกเขาว่าชาว เล หรือจำพวกเขาได้เรียกทั่วไปว่าชาว ทะเลสีฟ้า หรือ เรือสีฟ้า และลายสักตามร่างกายของพวกเขามีสีฟ้า ต้นกำเนิดลายสักไม่ชัดเจน คาดว่ามาจากศตวรรษที่ 19 คล้ายคลึงกับลายสักนักเดินเรือยุโรป #ชาวมอแกน ในประเทศไทย
ก็เชื่อมโยงกับ ชาวเล บาจาว
🛶ต้นกำเนิด ชาวบาจาว ไม่เป็นที่แน่ชัด
เพราะมีการเล่าปากต่อปาก ไม่มีหลักฐานอ้างอิง และหลักฐานส่วนใหญ่ อยู่ในทะเล สูญหายง่าย เพราะตั้งรกรากชั่วคราว จึงไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับพวกเขาเลย
แต่มีหลักฐานว่าพวกเขา อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาหลายร้อยปีแล้ว
มีหลักฐานบันทึกไว้ปี 1630 จาก บ.ชาวดั
ตช์ อธิบายว่าเป็นผู้อาศัยอยู่ในทะเล
🛶ในยุค ปัจจุบัน ผู้หญิง ชาวบาจาว ถูกขาย ให้แต่งงาน ให้กับคนนอกเผ่า โดยเฉพาะในฟิลิปปินส์ พบ 2 ใน 3 นิยมขายให้ชาวจีน แผ่นดินใหญ่ ที่ทำงานในภูมิภาคนี้ พ่อแม่ เมื่อได้เงินมาแล้ว จะนำมาใช้หนี้
🛶การท่องเที่ยวมากขึ้น รวมทั้งการพัฒนาเศรษฐกิจ ทำใช้ความเป็นชาว บาจาว เริ่มสูญหาย
นักท่องเที่ยวจำนวนมาก เข้าไปยังพื้นที่
ที่ชาวบาจาวอาศัยอยู่ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีกิจกรรมท่องเที่ยวมากขึ้น ติดต่อคนนอกมากขึ้น กิจกรรมเกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเกิดขึ้นมากมาย
แน่นอนชาว บาจาว รับวัฒนธรรมจากภายนอกมากขึ้น รวมทั้งทะเล ที่พวกเขาอาศัยอยู่คือแหล่งน้ำมัน ก๊าซ ธรรมชาติ
จึงมีนักสำรวจ บ.สำ ชนเผ่าเร่ร่อน ในทะเลหรือที่เรียกเผ่า Sama-Bajau ซามา บาจาว
✍️ชาวบาจาว ดำน้ำลึก 70 เมตรใช้เพียงแว่น และหินถ่วงน้ำหนัก ซึ่งนักดำน้ำทั่วไปดำได้เพียง 40 เมตร พวกเขาดำอยู่ในน้ำได้ถึง 13 นาทีไม่มีอุปกรณ์ช่วย นานกว่าคนทั่วไป ที่ดำได้เพียงไม่เกิน 3 นาที ชาวบาจาวดำน้ำลึกหาปลา และสัตว์ทะเลเป็นอาหาร ชีวิตส่วนใหญ่หนึ่งวัน 60% อยู่ในน้ำ เด็กชาวบาจาวสามารถว่ายน้ำได้ พร้อมๆกับหัดเดิน และพวกเขาฝึกดำน้ำลึกตามผู้ปกครองตั้งแต่เดินยังไม่แข็ง ชาวบาจาวทำทุกอย่างในน้ำแต่งงาน หาอาหาร การละเล่นต่างๆล้วนอยู่ในน้ำทั้งหมด จากผลวิจัยชาวบาจาวด้วยการตรวจทางร่างกายต่างๆ วิวัฒน์ร่างกายทำให้มีม้ามใหญ่ ช่วยดำน้ำได้นานขึ้นกว่าปกติ
✍️ชาวบาจาว อาศัยอยู่ตามชายฝั่งของฟิลิปปินส์ มาเลเซียและอินโดนีเซีย ยังชีพด้วยการดำน้ำจับปลาหรือเปลือกหอยเพื่อไปทำงานฝีมือขาย ในปัจจุบันการย้ายถิ่นฐานไม่เหมือนเดิมเหมือนหลายสิบปีที่ผ่านมา ก่อนหน้าพวกเขาไม่มีผืนแผ่นดินอยู่ เพราะชีวิตผูกพันอยู่กับคลื่นลม แสงแดด สายน้ำ ตามบรรพบุรุษรุ่นต่อรุ่นสืบทอดกันมา ชนเผ่าเร่ร่อน บาจาวมีประชากรราว 1.1 ล้านคน ประมาณ 200,000 คนอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงในหมู่เกาะทางตะวันออกของอินโดนีเซีย 347,000 คนในมาเลเซีย บรูไน (ซาบาห์) และ 564,000 คนในฟิลิปปินส์
✍️ ชาวบาจาวย้ายถิ่นฐานไปเรื่อยๆตามชายฝั่งตามทำเลมี อาหาร ที่หลบภัยพายุ เลือกจุดที่อุดมสมบูรณ์ พวกเขาเป็นกลุ่มคนเร่ร่อนในทะเล ไร้สัญชาติ ไม่มีทะเบียนบ้าน เด็กเกือบทั้งหมดไม่ได้เล่าเรียนเหมือนเด็กปกติ ถูกจัดสถานะเป็นผู้ลี้ภัยจากประเทศฟิลิปปินส์ พวกเขาจะขึ้นฝั่งต่อเมื่อ พวกเขาต้องการตัดต้นไม้สร้างบ้าน สร้างเรือใหม่ หรือหาอุปกรณ์ล่าสัตว์ ดักสัตว์น้ำ พวกเขาขายสัตว์น้ำให้ชุมชนคนทั่วไป และขึ้นฝั่งทำพิธีฝังศพ พวกเขาใช้ชีวิตในน้ำอยู่เป็นกลุ่มกันอย่างสงบ ไม่สร้างปัญหาให้กับพื้นที่อาศัย เหตุผลทางด้านมนุษย์ธรรมทางการมาเลเซียจึงอนุญาตให้ชาวบาจาวอาศัยอยู่ในน่านน้ำมาเลเซียได้ ความสามารถพิเศษของชาวบาจาวคือการดำน้ำลึกหาปลา จับสัตว์น้ำ ดักสัตว์น้ำด้วยอุปกรณ์แบบดั้งเดิมในการจับปลา เรือทำจากไม้คล้ายเรือแคนู อาวุธคือหอกและธนูเป็นส่วนใหญ่ ชีวิตในหนึ่งวันของพวกเขามากกว่าครึ่งอยู่ในน้ำ
✍️การดำน้ำลึกในลมหายใจเดียวอาจฝังอยู่ใน DNA ของพวกเขา 'ผู้เร่ร่อนแห่งท้องทะเล เผ่าเร่รอน บาจาว ' ตำนานรุ่นสู่รุ่นมากกว่า 400 ปี
✍️ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีชนเผ่าเร่ร่อนหลักๆ 3 เผ่าหลัก
1.มอแกน 2.อูรังลาโว้ย ตามที่คนไทยเรียก (Orang Laut) 3. ซามา บาจาว //(แผนที่ในภาพ)
🎥 : ภาพบางส่วน
National Geographic
BBC/ DW /China Daily
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น